ส่งใบงานที่9บุคคลสำคัญของโลก

  สตีเวน พอล จอบส์ (Steve Jobs)
เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 เกิดที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรบุญธรรมของนายพอล และนางคลารา จอบส์ส่วนบิดา มารดาที่แท้จริงของจอบส์ คือ บิดา อับดุลฟัตตะห์ จันดาลี มารดา โจแอน ซิมป์สัน สตีฟ จอบส์ เข้าพิธีสมรส กับ ลอเรนซ์ โพเวลล์ เมื่อวัน18 มีนาคม ค.ศ. 1991 และมีบุตรด้วยกันสามคน สตีฟ จอบส์ ยังมีลูกสาวหนึ่งคน ชื่อลิซา จอบส์ ที่เกิดจากสตรีผู้หนึ่งซึ่งเขาไม่ได้แต่งงานด้วย และ สตีฟ จอบส์ นับถือศาสนาพุทธ
ความสำคัญ
สตีฟ จอบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิล (Apple: Company Co-founder Steve Jobs Has Died)

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า “สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า” พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยใน ปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน

King Vajiravudh portrait photograph.jpg

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 – พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการ เรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง

Poo-2.jpg

ส่งใบงานที่ 6 Valentine’s day

ประวัติความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์

โดย FourBears

Imageทุก ๆ ปีเมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดอกกุหลาบสีแดง การ์ดอวยพร ของขวัญ และช็อกโกแลต จะถูกส่งอวยพรถึงกันและกัน ระหว่างคนที่มีความรักต่อกัน ไม่ใช่เพียงแต่คนหนุ่มสาว แต่ยังรวมถึงคนในครอบครัว หรือมิตรสหาย เพราะในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนับเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันแห่งความรัก หรือ วันวาเลนไทน์

ชื่อของ วาเลนไทน์ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ วันแห่งความรัก นี้ได้อย่างไร ? และทำไมเดือนกุมภาพันธ์ จึง เป็นเดือนแห่งความรัก ?

ประวัติดั้งเดิมของ วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็น วันแห่งความรัก เกี่ยวพันทั้งกับประเพณีของชาวคริสเตียน และประเพณีดั้งเดิมของชาวโรมัน ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน ตามความรับรู้ของชาวคริสต์ วันวาเลนไทน์ มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนักบุญที่ชื่อ วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส อย่างน้อย 3 คน ซึ่งทุกคนเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์ทั้งสิ้น

สัญลักษณ์และรูปภาพประกอบ

สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์

                      เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมันในรูปเด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทอง
เล็งไปยัง หัวใจของผู้คน ตามตำนานของกรีกและโรมันพูดถึงคิวปิดว่า เป็นบุตรของมาร์ (เทพเจ้าของสงคราม)
และ วีนัส (เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม)

วีนัสอิจฉา “ไซกี” ธิดาของกษัตริย์องค์หนึ่ง ที่กำลังแรกรุ่นและสวยกว่าวีนัสมาก นางเลยส่งคิวปิดไปหาไซกี
เพื่อบันดาลให้ไซกีมีความรักกับบุรุษเพศ แต่คิวปิดแอบหลงรักไซกีและพามาที่วัง และแอบมาหาในตอนกลางคืน
เพื่อไม่ให้ไซกีรู้ว่าตนเองเป็นใคร แต่มีคนอิจฉายุให้ไซกีแอบดูตอนคิวปิดนอนหลับ

ด้วยความตื่นเต้นที่เห็นคิวปิดเป็นหนุ่มรูปงามแลยเผลอทำน้ำมันตะเกียงหกใส่คิวปิด เมื่อคิวปิดตื่นขึ้นก็โกรธมาก
ที่นางขัดคำสั่งจึงทิ้งนางไป เมื่อโดนทิ้งไปไซกีก็ออกตามหาคิวปิด ซึ่งตลอดเวลาไซกีถูกนางวีนัสกลั่นแกล้งต่างๆ
นานา จนคิวปิดต้องเข้ามาช่วย เทพเจ้าจูปิเตอร์เห็นใจช่วยให้ทั้งสองครองรักกัน

คำว่า “Valentine” มีความหมายแยกตามตัวอักษร ได้ดังนี้

   V คือ VERITY ความจริงที่มีอยู่ ซึ่งความจริงแล้วถ้าความจริงสิ่งที่เป็นอยู่ของคุณและเธอ หรือเขาที่มีต่อกันแล้ว
ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเข้าใจก็จะมีเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณทีเดียว ในโลกนี้มีสิ่งที่รู้อยู่เพียง 4 อย่างเท่านั้น คือ คุณรู้
เขาไม่รู้ คุณไม่รู้ เขารู้ คุณรู้ เขารู้ คุณไม่รู้ เขาก็ไม่รู้ ถ้าหากคุณบอกสิ่งที่คุณรู้และเขาไม่รู้ หรือคุณไม่รู้เขาบอกให้
คุณรู้ ความรู้นั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่เปิดเผย จะบอกเขาว่ารัก ก็รีบๆ บอกเสียในวันนี้ อย่าบอกว่า การกระทำก็บอก
อยู่แล้ว สายตาก็บอกอยู่แล้ว บอกให้ชัดๆ เสียว่า “รักคุณ”

    A คือ AMBITION เป็นความปรารถนาดีอย่างแรงกล้า คุณจะรัก จะชอบ จะจีบใคร คุณควรมีความปรารถนาอย่าง
สูงมิใช่เห็นเขาส่งการ์ดให้ ส่งดอกไม้ให้ พาเขาไปฉลองสนุกๆ เท่านั้น คุณควรมีความปรารถนาในความรักอย่าง
จริงจังมิใช่ทำไปเพื่อตามแฟชั่น หรือเพื่อนพ้องลากไป หรือชวนให้ทำ ไปสรรหาการ์ดสวยๆ สั่งดอกกุหลาบสีแดง
สดสวยๆ
ไว้ล่วงหน้า พยายามทำด้วยความปรารถนาดีที่มีไฟอยู่ในใจนะ

   L คือ LENIENT ความผ่อนปรน ความปรานี คุณและเขาหรือเธอควรจะมีการผ่อนปรน หรือสิ่งที่ละทิ้งได้ก็ควร
จะละทิ้งไป อย่าเก็บมาใส่ใจให้เป็นขยะในใจ หรือรอยมลทินใจ อย่าคิดอะไรเก่าๆ สมัยนี้ควรที่จะคิด จะนึกได้
นะว่า บางอย่างก็ทิ้งๆ ไป เสีย อย่านำมาคิด มีความปรานี เมตตาหรือความรัก ความปรารถนาดีกว่า

   E คือ EQUALITY ความเสมอภาค ความทัดเทียมกันในสมัยปัจจุบัน คู่รักหรือคนรักกัน ควรจะมีความเท่าเทียม
กันมิใช่อยู่ในสมัยบรรจงกราบเช้า กราบเย็น นอนทีหลังตื่นก่อนแล้ว เราต้องก้าวไปด้วยกัน ด้วยความมุ่งมั่นใน
อนาคต ด้วยความเสมอภาค แต่เราก็คิดเสมอว่าเคียงข้างไปด้วยกัน ขนานกันดีกว่าที่จะมาจูงกัน ก้าวไปด้วยความรัก
ที่มีเท่าเทียมกัน เขามอบอะไรให้เรา เราก็ควรจะตอบแทนให้เขาเท่าๆ กัน พอๆ กัน มิใช่เอารัดเอาเปรียบเขา เขามา
แสดงความรัก ความยินดี ด้วยกุหลาบช่อใหญ่ แต่เราให้เขาเพียงดอกเดียว ดูเป็นการเอาเปรียบกันเกินไป จริงอยู่
บางคนอาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่มันสำคัญที่ใจ ถ้าหากต่างคนต่างให้ความเสมอภาคแล้ว ตาชั่งก็คงไม่เอียงใช่ไหม

N คือ NOTABLE การยกย่องให้อยู่ในสภาพที่ดี ถึงแม้คุณจะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันแล้วก็ตาม คุณก็ควรจะ
ยกย่องเธอหรือเขาให้อยู่ในสถานภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป คือ เป็นการให้เกียรติยกย่องเธอหรือเขาต่อสังคม ว่าเป็น
คนที่สวยเป็นคนที่ดี ไม่ว่าอยู่ต่อหน้า และลับหลัง มิใช่เอาไปนินทา เอาไปเผาต่อหน้าเพื่อนฝูงให้ไหม้เป็นจุณไป
หรือพูดคุยตลกคะนอง ลับหลังเธอหรือเขาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สู้ฉันไม่ได้ ฉันยอด คุณควรจะยกย่องเธอหรือ
เขา ในโอกาสที่ควร และในเวลาที่กำลังมีความรักอยู่ด้วยแล้วก็จะดียิ่งทีเดียว

T คือ TENDER ความรักใคร่ที่นุ่มนวล บรรจงเป็นห่วงเป็นใย Love me Tender คงจะบอกคุณได้หลายๆ อย่าง
คุณควรจะทะนุถนอมเธอหรือเขาด้วยความรัก ความนุ่มนวล ความห่วงใย โทร.ไปสวัสดี Valentine ตั้งแต่ใครยัง
ไม่โทร.ไปสวัสดีก่อน เพื่อให้เธอหรือเขาเห็นว่าคุณมีความห่วงใย ความปรารถนาดีแค่ไหน ไปฉลองด้วยกันต้อง
นุ่มนวลในบรรยากาศอย่างนั้น ดูซิ แสนจะสดชื่นกับความรักแค่ไหน

I คือ INNOVATION การทำความแปลกใหม่มาให้คู่รัก คนรักหรือชีวิตรัก มิใช่อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้นมาตลอด
ชอบกันอย่างไรก็ชอบกันมาอย่างนั้น เคยให้อะไรก็ให้อย่างนั้น คุณควรจะทำสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ มาสู่ชีวิตคุณและ
เธอหรือเขาด้วย การเปลี่ยนแปลงเป็นวิถีของชีวิต ดังนั้น คุณควรจะเปลี่ยนอะไรๆ บ้าง ในทางที่ดีนะ อย่างคุณจะ
หาอะไรในวัน Valentine ให้เธอเปลี่ยนจากดอกไม้ที่เป็นดอกกุหลาบมาเป็นผ้าตัดเสื้อลายกุหลาบ หรือผ้าเช็ดหน้า
ปักกุหลาบแดง หรือจี้เพชรรูปกุหลาบ เข็มกลัดกุหลาบก็ได้ ส่วนคุณที่จะมอบให้เขาอาจเป็นผ้าเช็ดหน้าปักกุหลาบ
เข็มกลัดไทรูปกุหลาบ หรือแหวนรูปกุหลาบสำหรับใส่นิ้วก้อยสักวง ลองเปลี่ยนบ้างนะ

N คือ NEXUS การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้มีตลอดไปมิใช่วัน Valentine เท่านั้นที่คุณจะมอบกุหลาบให้เธอหรือ
เขา วันเกิด วันปีใหม่ วันครบรอบความรักที่เคยให้กันไว้ วันครบรอบวันแต่งงาน หรือวันสำคัญๆ ที่คุณให้ก็ได้ หรือ
บางวันก็ส่งช่อดอกไม้ไปให้เธอช่อใหญ่ๆ พร้อมกับคำขวัญสั้นๆ ว่า “รักคุณ” ให้คนในที่ทำงานหรือเพื่อนๆ อิจฉา
เล่นก็ได้ เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ของคุณต่อเธอหรือเขาว่าคุณยังคิดถึง ยังรักอยู่นะ

 

   E คือ ENDURANCE ความอดทน ความยืนยงสถาพร ความอดกลั้น ความเป็นอมตะ อยู่ชั่วกาลนานคุณจะต้องมี
ความอดทนต่อทุกๆ สิ่ง ถ้าหากคุณต้องเผชิญกับสิ่งนั้น อาจเป็นเวลาที่คุณจะต้องคอย คุณจะต้องยืนหยัดในความ
ปรารถนาของคุณ คุณต้องอดกลั้นเมื่อคุณเผชิญต่อสิ่งที่คุณจะต้องโมโห หรืออารมณ์เสีย ต่อหน้าเธอหรือต่อหน้าเขา
คุณควรประพฤติและปฏิบัติอย่างเป็นไปอย่างนั้นอย่างเสมอๆ มิใช่นานเกือบเดือนเพิ่งจะโทร.ไปหาหรือเขียน
จดหมายมา หรือหายไปเป็นปีเพิ่งจะมาบอกว่า “รักคุณ

1392272063610                                                          1392272060397

ส่งใบงานที่7วันจักรีของชาติ

   ประวัติความเป็นมาของวันจักรี

ประวัติการตั้งชื่อวันจักรีมี ว่า เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย มาจนทุกวันนี้

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ( ร.1-4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น

วันจักรี                              รูปภาพ ก

กิจกรรมในวันจักรี

เนื่องในวันจักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จเสด็จ พระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ไปเป็นประธานในพิธีทางศาสนา เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลให้กับบูรพมหากษัตริย์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงสักการะพระบรมรูป สมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ ณ ปราสาทพระเทพบิดร

ต่อจากนั้นก็ทรงเสด็จไปวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสรณ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ นิสิตนักศึกษา หน่วยงาน ของรัฐบาล และเอกชน และประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกัน เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลให้กับพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอุทิศพระองค์ เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฎรของพระองค์อย่างแท้จริง

วันจักรีเกิดขึ้นในรัชกาล

ประวัติการตั้งชื่อวันจักรี นั้นเนื่องมาจาก เมื่อ วันที่ 6 เมษายน ปี พ.ศ. 2325 นั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และยังทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทยอีกด้วย และยังเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรีซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองราชย์อยู่ ในปัจจุบัน

ส่งใบงานที่8ประวัติของธงชาติไทย

กำเนิดธงสยาม

ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สามารถสืบได้แต่เพียงความว่า มีการใช้ธงสำหรับเป็นเครื่องหมายของกองทัพกองละสีและใช้ธงสีแดงเป็นเครื่อง สำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และยังไม่มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน[3]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2398 พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า สยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยามแต่เอารูป จักรออก เนื่องจากมีเหตุผลว่า จักรเป็นเครื่องหมายเฉพาะพระองค์พระมหากษัตีย์และธงพื้นสีแดงที่เอกชนสยาม ใช้ทั่วไปซ้ำกับประเทศอื่นในการติดต่อระหว่างประเทศ[8] ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้พื้นเป็นสีขาบชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับแยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า ธงเกตุ[5][6] (ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน[9])

ธงไตรรงค์

ธงช้างเผือกเปล่าได้ใช้เป็นธงชาติสยามสืบมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2459 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองอุทัยธานี ซึ่งขณะนั้นประสบเหตุอุทกภัยและทอดพระเนตรเห็นธงช้างของราษฎรซึ่งตั้งใจรอ รับเสด็จไว้ถูกติดกลับหัว พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก นอกจากนี้ มีพระราชดำริว่า ธงช้างทำยากและไม่ใคร่ได้ทำแพร่หลายในประเทศ โดยธงช้างที่ขายตามท้องตลาดนั้นมักจะเป็นธงที่ผลิตจากต่างประเทศและประเทศ ที่ทำไม่รู้จักช้าง ดังนั้น รูปร่างของช้างที่ปรากฏจึงไม่น่าดู[1] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบยาวสีแดง 3 แถบ สลับกับแถบสีขาว 2 แถบ ซึ่งเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว ซึ่งธงนี้เรียกว่า “ธงแดงขาว 5 ริ้ว” (ชื่อในเอกสารราชการเรียกว่า ธงค้าขาย) [10] ทั้งนี้ สำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาลสยามยังคงใช้ธงช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ แต่ใช้รูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น[10] ซึ่งแต่เดิมธงนี้เป็นธงสำหรับเรือหลวงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2440[5] และมีฐานะเป็นธงราชการอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2453[11]

ล่วงมาถึง พ.ศ. 2460 แถบสีแดงที่ตรงกลางธงค้าขายได้เปลี่ยนเป็นสีขาบ หรือสีน้ำเงินเข้มเจือม่วงดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[12] เหตุที่รัชกาลที่ 6 ทรงเลือกสีนี้เพราะสีม่วงเป็นสีประจำพระองค์ที่โปรดมาก เนื่องจากเป็นสีประจำวันพระราชสมภพคือวันเสาร์[1] และอีกประการหนึ่ง สีน้ำเงินยังแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 เช่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เป็นต้น[12] ซึ่งใช้สีแดง ขาว น้ำเงินเป็นสีในธงชาติเป็นส่วนใหญ่ด้วย ธงชาติแบบใหม่นี้ได้รับพระราชทานนามว่า “ธงไตรรงค์” และอวดโฉมต่อสายตาชาวโลกครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกองทหารอาสาของไทยได้ใช้เชิญไปเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วย[13]

อย่างไรก็ตาม ธงไตรรงค์ที่สร้างขึ้นสำหรับกองทหารอาสาในคราวนั้นไม่ใช่ลักษณะอย่างธง ไตรรงค์ตามที่กำหนดให้ใช้โดยทั่วไป แต่มีการเพิ่มรูปสัญลักษณ์พิเศษลงในธงด้วย โดยด้านหน้าธงนั้นเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นในวงกลมพื้นสีแดง ลักษณะอย่างเดียวกับธงราชนาวีไทย (ทั้งนี้กำหนดแบบใหม่ให้ใช้พร้อมกันในคราวประกาศเปลี่ยนธงชาติด้วย) ด้านหลังเป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ร.ร. ๖ สีขาบ ภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมีสีเหลืองในวงกลมพื้นสีแดง ที่แถบสีแดงทั้งแถบบนแถบล่างทั้งสองด้านจารึกพุทธชัยมงคลคาถาบทแรก (ภาษาบาลี) เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทหารอาสาของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชนิพนธ์แก้ไขในตอนท้ายจาก “ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ” (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน) เป็น “ตนฺเตชสา ภวตุ เม ชยสิทฺธินิจฺจํ” (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยชนะจงมีแก่ข้าพเจ้าเสมอ)[2]

ส่ง ใบงานที่5 วันครู 2557

ประวัติวันครู

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภา สามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนด เป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

                                                   

ความสำคัญของวันครู

1. ครู ถือว่าเป็นบิดามารดา  คนที่สองของเรา

2.ครู เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อศิษย์

3.  ครูเป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

                                                        

จรรยาบรรณ วิชาชีพครูมีอยู่ด้วยกัน 5 ด้าน 9 ข้อ อย่างที่เราคนเป็นครูท่องจำกันอยู่เสมอๆ ว่าจรรยาบรรณครูมี 5 ด้านนะ 9 ข้อ แต่มาดูว่า 5 ด้าน 9 ข้อนั้นมีอะไรบ้าง

ด้านที่ 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง

1. ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

ด้านที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

2. ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

ด้านที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

3. ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผุ้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

4. ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทและหน้าที่อย่าง เต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

5. ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งกาย วาจา และจิตใจ

6. ต้องไม่กระทำตนเป็นปรปักษ์ต่อความเจริญทางกาย วาจาและจิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ

7. ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

ด้านที่ 4 จรรยาบรรณต่อผู่ร่วมประกอบวิชาชีพ

8. พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

ด้านที่ 5 จรรยาบรรณต่อสังคม

9. พึงปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบบอบประชาธิปไตยอันมีพระมกากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

ครูที่ชื่นชอบ

1. คุณครู รักศักดื์ ปริหา สอนวิชา คอมพิวเตอร์

2. คุณครูสุขสันต์ อุ่นจิตร สอนวิชา งานช่างพื้นฐาน

3. คุรครู Jireh Glenn Pastolero สอนวิชา อังกฤษ

4. คุรครู เทียนชัยแก่นการ สอนวิชา คณิตศาสตร์

5. คุณครู ผ่องแผ้ว บรรเทินสุข สอนวิชา วิทยาศาสตร์

รูปภาพ

 

ห้องสมุดของเราเป้นห้องที่ทำให้พวกเราได้เรียนรู้ และได้ศึกษาและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และได้ความรูสามารถนำไปทำข้อสอบ

หรือเขียนนิทาน คำหลายอย่าที่ครูมอบหมายให้ทำในแต่ละงาน และห้องสมุดของเรายังสะอาด เพราะมีครูที่ดีเป็นผู้ดูแลความสะอาด

และนักเรียนก็ทำช่วยครู ครูจะจัดเป็นเวณทำ ให้พี่ ม.3 ทำวันจันทร์ ม.2 ทำวันอังคาร ม.1 ทำวันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ น้องประถม

ทำ ห้องสะมุดของเราน่าอยู่น่าอ่านมากครับ เรารักโรงเรียนของเรามาก อิอิ

รูปภาพ

กิจกรรมหน้าเสาร์ธง โดยให้นักเรียนทุกคนมาเข้าแถว เข้าแถวทุกชั้นเรียน เริ่มตั้งแต่ อนุบาล ถึง ม.3 การเข้าแถวเราจะทำกิจกรรม

อันแรกเราจะร้องเพลงชาติ โดยมพี่ประธานเป็นผู้นำร้อง กิจกรรมที่สอง สวดมนไหว้พระ พี่ประธานนำ กิจกรรมที่สาม

ร้องเพลงสรรค์เสริญพระบารมี และกิจกรรมสุดท้ายเราจะให้ครูประจำเวณแต่ละท่านมาแนะแนวความรู้ให้แก่นักเรียน

 

รูปภาพ

เป็นบริเวณความรับผิดชอบของแต่ละชั้นเรียน โดยให้แตละชั้นทำความสะอาดบริเวณรับผิดชอบ

จะทำให็โรงเรียนของเราสะอาดและน่าเรียนมากขึ้น

ที่ทำกิจกรรม คือเก็บขยะแรกคะัแนน โรงเรียนของเราจะดูดีและจะมีผู้มาชอมมาดูโรงเรียนของเรามากขึ้น

 

 

         ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม

พ.ศ. ๒๔๗๕

รูปภาพรูปภาพ

รูปภาพ

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่ง อนันตสมาคม ซึ่งโปรดเกล้าให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภาได้ทรงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศจึงได้ถือเป็นวัน ที่ระลึกสำคัญของชาติ เพื่อระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทาน รัฐธรรมนูญ “ฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวร” ให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญดังนี้ “ข้าพเจ้า มีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่ว ไป แต่ข้าเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร” ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นคือ คณะราษฎร์ 

 
รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีทั้งหมด 16 ฉบับ ได้แก่

              ฉบับที่ 1 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475
              ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
              ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
              ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 (ฉบับชั่วคราว)
              ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
              ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2495
              ฉบับที่ 7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2502
              ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
              ฉบับที่ 9 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515
              ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
              ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
              ฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520
              ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528)
              ฉบับที่ 14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
              ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
              ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
              ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
              ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

 รูปภาพ